วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมา

    
           

           ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเดิมว่า "วัดหงษ์ร่อน" เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยอู่ทอง หรือลพบุรี และเปลี่ยนชื่อมาเป็น"วัดแจงร้อน" ภายในวิหารหลวงจะเป็นที่ประดิษฐานของ "หลวงพ่อหินแดง"เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิทำมาจากศิลาแลงสีแดง บริเวณกรอบหน้าบันพระวิหารด้านนอกเป็นกรอบเกลี้ยงไม่มีลวดลาย เป็นศิลปะแบบสมัยรัชการที่ 3 ลายปูนปั้นบนซุ้มประตูหน้าต่างพระอุโบสถ มีทั้งหมด 14 บาน ปั้นขึ้นในปี 2466 หรือประมาณสมัยต้นรัชการที่ 7 เป็นลายปูนปั้นรูปผลไม้เช่น ทับทิม น้อยหน่า มะม่วง สัปปะรด ลายสัตว์น้ำ เช่น กบ ปลาทอง ปลาหมึก ปลาตีน ปู และลายสัตว์อื่นๆเช่น กระต่าย ค้างคาว ช้างสามเศียร แพะ หมาจู ลวดลายเหล่านี้ทำได้แปลกตาและปราณีตงดงามตู้พระธรรม มีจำนวน 2 ใบ เป็นของเก่าแก่โบราณ ทำขึ้นในสมัยรัชการที่ 1ส่วนศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นเมื่อปี 2470 ที่หน้าบันทำเป็นลายปูนปั้นหมูป่ากำลังโผล่หน้าออกมาจากปากถ้ำโดยประดับด้วยกระจกสีเป็นรูปป่า
           เดิม เขตราษฎร์บูรณะเป็นอำเภอที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดธนบุรี ครั้งหนึ่ง โอนไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดพระประแดง(สมัยนั้นเรียกว่า นครเขื่อนขันธ์ ) ต่อมา จังหวัดพระประแดงถูกยุบเป็นอำเภอและไปขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะจึงกลับมา ขึ้นกับจังหวัดธนบุรีตามเดิมอีกครั้ง ปัจจุบันเป็นเขตการปกครองขึ้นกับกรุงเทพมหานครความหมายของชื่อเขตที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มาจากคำว่า "ราษฎร์" + "บูรณะ" มาเป็น "ราษฎร์บูรณะ" ตามพจนานุกรม "ราษฎร์" แปลว่า"พลเมืองของประเทศ" หรือ "แว่นแคว้นบ้านเมือง" "บูรณะ" แปลว่า "ทำให้เต็ม ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม" เมื่อนำมาสมาสรวมกันเป็น "ราษฎร์บูรณะ"จึงมีความหมายได้เป็นสองนัย คือ พลเมืองของประเทศช่วยกันสร้างขึ้นหรือรวบรวมกันตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน อำเภอหนึ่ง และอีกนัยหนึ่งมีความหมายว่า เป็นเมืองที่ราษฎรช่วยกันค้ำจุนส่งเสริม และบำรุงรักษาทุกวิถีทางที่จะให้เป็นเมืองที่มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นสมกับเป็นเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครและให้มีความเจริญเท่าเทียมกับเขตอื่นหากจะพิจารณาตามหลักภูมิศาสตร์แล้ว จะเห็นว่าอำเภอราษฎร์บูรณะเดิมคงเป็นชายทะเลแถวป้อมพระจุลฯ ต่อมาแผ่นดินตอนนี้งอก และสูงขึ้น
เรื่อย ๆ จนพ้นน้ำมีต้นไม้งอกงามเป็นป่าดงอยู่ทั่วไป ราษฎรที่อาศัยอยู่จึงช่วยกัน หักล้างถางป่าทำมาหากินมาเป็นลำดับ ครั้นมาถึงสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ราษฎรทั้งหลายจึงกระจัดกระจายกันออกมา และช่วยกันหักร้างถางป่าสร้างเป็นเมืองขึ้น แล้วช่วยกันปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อจะได้เป็นกำแพงป้องกัน หรือเป็นด่านแรกของเมืองหลวงธนบุรี
หากถูกชาติใกล้เคียงรุกรานทางเรือในสมัยนั้น เมื่อ พ.ศ. 2423 อำเภอราษฎร์บูรณะ ตั้งที่ทำการอยู่ที่บ้านหลวงธนาบาล ( ปุ๋ย รัตนจีนะ ) อยู่ตอนกลางของคลองราษฎร์บูรณะและตั้งอยู่ริมลำกระโดงแห่งหนึ่ง ชาวบ้านเรียกลำกระโดงนี้ว่า "คลองตามั่ง" คนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย เรียกว่า คลองโรงพักเก่า นายอำเภอคนแรกในสมัยนั้น คือ หลวงธนาบาล (ปุ๋ย รัตนจีนะ) สถานที่ทำการอำเภอนี้ยังไม่มีตัวอำเภอเป็นอิสระ หลวงธนาบาลดำรงตำแหน่ง นายอำเภอตั้งแต่ พ.ศ.2423 จนถึง พ.ศ.2468 เมื่อสิ้นสมัยหลวงธนาบาลแล้ว พระวิเศษอักษรสาร มาดำรงตำแหน่งแทน จึงย้ายที่ทำการอำเภอมาปลูกสร้างเป็นอิสระในที่ดินของวัดราษฎร์บูรณะด้านทิศเหนือริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาบริเวณดังกล่าว ถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง อยู่เรื่อย ๆ พระวิเศษอักษรสาร นายอำเภอเห็นว่าจะเป็นการไม่ปลอดภัยในอนาคตจึงขอซื้อที่ดินซึ่งเป็นสวนของ นายเกี๊ยะ สินธุ์ฉาย เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2471
เมื่อ พ.ศ. 2512 นายเปรมศักดิ์ วิเชียรภักดี นายอำเภอราษฎร์บูรณะ พิจารณาเห็นว่าที่ทำการอำเภอ หลังนี้สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2471 รวมระยะเวลาประมาณ 42 ปีเศษ ตัวอาคารชำรุดทรุดโทรมมากยากแก่การซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดี จึงเสนอขอเงินงบประมาณทำการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่
สำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินมาเป็น ค่าก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอเป็นอาคารตึก 2 ชั้น นอกจากนี้สุขาภิบาลราษฎร์บูรณะ และพ่อค้าประชาชนได้ร่วมกันสมทบทุนในการนี้ด้วย อาคารสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2513 และเปิดทำการในปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานครได้อนุมัติ
งบประมาณมาสร้างที่ทำการเขตเพิ่มเติมเป็นอาคารตึก 3 ชั้น ต่อเนื่องกับตึกเก่าและเปิด ที่ว่าการเขตราษฎร์บูรณะ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2526 ต่อมากรุงเทพมหานครได้อนุมัติงบประมาณผูกพัน 3 ปี คือในปีงบประมาณ พ.ศ. 2537, 2538 และ 2539 เพื่อให้สร้างสำนักงานเขตเพิ่มเติมเป็นอาคาร 11 ชั้น ประกอบด้วยชั้นล่างเป็นที่เก็บของ ห้องโถง ถังเก็บน้ำ และห้อง ไฟฟ้า ชั้น 2-5 เป็นลานจอดรถยนต์ ชั้น 6-10 เป็นห้องทำงาน และชั้น 11 เป็นห้องประชุม โดยได้ลงนามสัญญาก่อสร้าง เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2537 กำหนดแล้วเสร็จ วันที่ 20 มิถุนายน 2539 และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 ได้มีพิธีเปิดอาคารสำนักงานเขต 11 ชั้น โดยสมเด็จพระญาณสังวรณ์สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น